เปิดแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งปี 60 ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน “มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน”
ถ้าหากดูทิศทางการพัฒนาประเทศจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) จะพบว่า 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์สำคัญ มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมโดยตรง นั่นคือ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์” แสดงให้เห็นว่าประเทศจะมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ด้านคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งจาก (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ได้กำหนด 5 ยุทธศาสตร์สำคัญที่แบ่งระยะเวลาการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ ระยะละ 5 ปี โดยระยะที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2564 ได้เน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเร่งด่วนด้านคมนาคมขนส่ง และเร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในส่วนที่ไม่สมบูรณ์หรือเป็นคอขวดตามแนวเส้นทางหลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง
เพื่อสตาร์ทตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในระยะแรก กระทรวงคมนาคม จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) ขึ้น เพื่อใช้ขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ประสบความสำเร็จอย่างฉับไว อย่างไรก็ตาม เราคงต้องย้อนกลับไปดูว่าจริงๆ แล้ว กระทรวงคมนาคมภายใต้การนำของนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามภารกิจหลักในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการคมนาคมขนส่ง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาโดยตลอด เริ่มจากกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบรางและทางน้ำของประเทศ
ในเวลาต่อมาคณะรัฐมนตรี ยังได้มีมติ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 ให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ. ศ. 2558 – 2565 และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน ปี พ.ศ. 2558 (Action Plan) รวมทั้งยังได้มีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 รับทราบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
การดำเนินงานตามมติ ครม. ดังกล่าว กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอโครงการให้ ครม. พิจารณาอนุมัติเป็นรายโครงการตามแผนดังกล่าวแล้ว เป็นต้นว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง ในทางสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 4 เส้นทาง (รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 3 โครงการ ( สายพัทยา- มาบตาพุด สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี) และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 เป็นต้น ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีโครงการ จำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1,796,385.77 ล้านบาท การดำเนินงาน (ณ เดือนมกราคม 2559) สามารถสรุปได้ ดังนี้
1. โครงการที่ ครม. อนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว จำนวน 7 โครงการ โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น โครงการที่ได้ประกวดราคาและลงนามในสัญญาแล้วบางส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการประกวดราคา จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างสายบางปะอิน-นครราชสีมา โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างสายบางใหญ่-กาญจนบุรี
โครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี โครงการรถไฟฟ้าสายเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา–ชุมทางถนนจิระ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ
โครงการที่อยู่ระหว่างขั้นตอนเตรียมการประกวดราคา จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ- พญาไท- มักกะสัน- หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง
4. โครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอ ครม. ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
โครงการที่อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการ PPP จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง และโครงการที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จำนวน 2 โครงการ โครงการความร่วมมือก่อสร้างทางรถไฟ ไทย-จีน และโครงการความร่วมมือก่อสร้างทางรถไฟ ไทย-ญี่ปุ่น
โครงการตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 (Action Plan) ส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนด ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของการดำเนินงานและจะเป็นฐานสำคัญของการทำงานตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action Plan) ให้เดินหน้าได้เร็วขึ้นบเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน “มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน”
ดีครับ